เกรียงไกร ปริญญาพล http://www.kkppn.com



 รองอำมาตย์เอก พระอนุบาลสกลเขตร์ 
(เมฆ พรหมสาขา ณ สกลนคร)

 

                                         โดย

                                          เกรียงไกร  ปริญญาพล
                                               

 

         เกิดเมื่อวันที่    สิงหาคม ๒๓๙๓ ( หากหลักฐานอื่นระบุ พ.ศ. ๒๓๙๒ จะไม่ถูกต้อง )    บ้านในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร  เป็นบุตรของราชวงศ์อินทร์  เมืองสกลนคร  เป็นน้องชายของ  อำมาตย์โท  พระยาประจันตประเทศธานี ( โง้นคำ )  เจ้าเมืองสกลนครคนที่    และคนสุดท้าย  ได้รับราชการหลายตำแหน่งจนกระทั่งสุดท้ายในตำแหน่งปลัดจังหวัดสกลนคร  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  ๓๐  กรกฎาคม  ๒๔๖๖  อายุได้  ๗๔  ปี  ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่  ๑๒  เมษายน  ๒๔๖๗    ฌาปนสถานชั่วคราวริมเมืองสกลนครด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งปัจจุบัน  คือ  บริเวณแขวงการทางจังหวัดสกลนคร 

 

คุณพระอนุบาลสกลเขตร์กับงานศาสนา

  

            นอกจากพระบรมราชโองการของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕  แต่งตั้งให้  พระยาประจันตประเทศธานี ( โง้นคำ  พรหมสาขา    สกลนคร )  ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสกลนครแล้ว    ยังมีพระบรมราโชวาทซึ่งสรุปบางส่วนได้ความว่า  “ ให้เจ้าเมืองสกลนครเอาใจใส่ในพระบวรพุทธศาสนา  ชักชวนกันบำเพ็ญสินทานการกุศล ปฏิสังขรวัดวาอาราม  ทำนุบำรุงพระสงฆ์  สามเณรให้ได้เล่าเรียน  ให้พระพุทธศาสนาถาวรสืบไป ”   คุณพระอนุบาลสกลเขตร์ ( เมฆ  พรหมสาขา    สกลนคร )  เป็นน้องชายเจ้าเมืองสกลนคร  และทั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖  เคยดำรงตำแหน่งราชบุตรเมืองสกลนครมาก่อน  ย่อมน้อมรับพระบรมราโชวาททำนุบำรุงศาสนาร่วมกับพี่ชาย   แม้ต่อมาการปกครองหัวเมืองจะยกเลิกตำแหน่ง  เจ้าเมือง  อุปฮาด  ราชวงศ์  ราชบุตร  หรือที่เรียกว่า  อาญาสี่  ขื่อบ้านขางเมือง  กระทั่งท่านได้เปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอธาตุเชิงชุม  ( ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองสกลนคร )  ยังทำนุบำรุงศาสนาอย่างต่อเนื่อง  และเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่  ได้เป็นผู้นำครอบครัว – ญาติพี่น้องและชาวคุ้มวัดเหนือ  ปรับปรุงเสนาสนะภายในวัด  ซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่บิดาของท่านเป็นผู้สร้าง

            ความเป็นผู้มีจิตศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนา  เห็นได้ชัดอย่างเป็นรูปธรรมประการหนึ่ง โดย  เมื่อครั้งท่านดำรงตำแหน่งนายอำเภอธาตุเชิงชุมนั้น  ในปี  พ.ศ. ๒๔๕๓  ท่านและพระอุปัชฌาย์พาหรือหลวงพ่อพา  พุทธสโร  พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง  ได้ร่วมกันเป็นกำลังสำคัญในการนำชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาก่อสร้างสิมหรืออุโบสถที่วัดยอดลำธาร ( เดิมชื่อวัดยอดลำธารรัตนาราม )  หมู่    บ้านนาแก้ว  ตำบลนาแก้ว  อำเภอโพนนาแก้ว  ( เดิมอยู่ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร )  จังหวัดสกลนคร  เพื่อให้ภิกษุ – สามเณร  ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและวินัยสงฆ์  ในครั้งนั้นท่านและข้าราชการในตัวเมืองสกลนคร  รวมตลอดทั้งพ่อค้าประชาชนและญาติมิตร  นั่งเรือแจวจากท่าเรือริมหนองหารมุ่งตรงไปขึ้นท่าเรือบ้านนาแก้ว  ระยะทางประมาณ    ก.ม.  และจากท่าเรือบ้านนาแก้วเดินต่อไปอีกประมาณ  ๕๐๐  เมตร  จึงถึงวัดเพื่อร่วมจิตศรัทธาก่อสร้างอุโบสถหลังดังกล่าว

อุโบสถตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก  มีความกว้าง  ๑๒  เมตร  ยาว  ๑๙  เมตร  เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นศิลปะอีสานประยุกต์กับศิลปะเวียตนาม  ชั้นเดียว  ยกพื้นสูง  มีหน้าต่าง    ช่อง  ฝาและเสาก่อด้วยหินแฮ่พื้นบ้าน  ฉาบฝาและเสาด้วยปูนเปลือกหอย  ( สมัยนั้นช่างจะนำเปลือกหอยมาเผาแล้วตำให้ละเอียดผสมกับทรายและยางของต้นบงหรือที่ชาวบ้านเรียกว่ายางบง )   หลังคา    ชั้น  มุงหลังคาด้วยแป้นเกร็ด  ส่วนลายหน้าบันของอุโบสถด้านทิศตะวันออกจะเป็นลายปั้นเขียนสีแสดงเรื่องกำเนิดวันมหาสงกรานต์ตอนธิดาทั้ง    แห่ศรีษะท้าวกบิลพรม  ส่วนหน้าบันทางด้านหน้าเป็นลายปั้นรูปพระพุทธเจ้าและเหล่าทวยเทพเทวดา   ฝาอุโบสถด้านหน้ามีอักษรเขียนสีโบราณติดไว้ว่า  “ ร.ศ. ๑๐๙ ”  อักษรดังกล่าวจะมีป้ายไม้เก่าเขียนข้อความว่า  “ พระอุปัชฌาย์พา วัดยอดลำธารรัตนาราม   พร้อมกับพระอนุบาลสกลเขตร์นายอำเภอธาตุเชิงชุม  และหลวงแก้วอาสา  กำนันบ้านนาแก้ว  พร้อมใจกันสร้างพัทธสีมา  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓  ได้ปฏิสังขรใหญ่  ๒๔๗๗  สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ” 

  

 

 

 

 

 

 

 

  

 

ในสมัยพระครูพิศาลสิกขยุติ  ( เกษ  อินทโสภโณ )  เป็นเจ้าอาวาส  ไม้แป้นเกร็ดผุพัง  จึงเปลี่ยนเป็นสังกะสี  ต่อมาสังกะสีที่มุงหลังคาผุพังตามกาลเวลา  พระครูอัครธรรมสาร ( อวยชัย  ธัมมวรโร )  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนเป็นมุงด้วยกระเบื้องตามสมัยนิยม  แต่ทั้งนี้ทางวัดยังคงรักษาโครงสร้างของหลังคา    ชั้น  ไว้ตามเดิม  ในการก่อสร้างหลวงพ่อพา  พุทธสโร   และคุณพระอนุบาลสกลเขตร์  ( เมฆ  พรหมสาขา    สกลนคร )  ได้ร่วมกันว่าจ้างองเด่  ชาวญวนบ้านท่าแร่เป็นนายช่างใหญ่ในการก่อสร้างจนกระทั่งแล้วเสร็จ  ในสมัยนั้นไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไปภายในอุโบสถเนื่องจากเป็นสิมมหาอุด ( มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว )  และมีคติความเชื่อว่าหากผู้หญิงเข้าไปภายในแล้วจะทำให้ไม่มีบุตรหรือหากกำลังตั้งครรภ์จะทำให้แท้งบุตรได้  อีกทั้งยังเชื่อว่าสิมมหาอุดหากใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม  ปลุกเสกวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังใดจะทำให้วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังนั้นมีพุทธคุณแรงป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ได้  ในสมัยนั้นการก่อสร้างอุโบสถขนาดใหญ่  ผู้ก่อสร้างถือว่าเป็นผู้มีจิตศรัทธา  มีความตั้งใจสูง  มีความอดทนและมีจิตใจยึดมั่นในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากใช้ทุนทรัพย์สูงและการคมนาคมไปมาไม่สะดวกเช่นดังปัจจุบัน

ด้านหน้าของอุโบสถมีรูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่    ตน  ยืนอยู่สองข้างระหว่างบันไดทางขึ้น   ตนที่ยืนอยู่ข้างบันไดด้านทิศเหนือ  เป็นยักษ์โข  ( เพศชาย )  มีกระบองเป็นอาวุธ  สวมกางเกงทับด้วยโจงกระเบน  เสื้อแขนสั้น  ประดับสังวานลย์และชฎา  สันนิฐานว่าน่าจะเป็นราชาแห่งยักษ์ผู้ปกครองโลกในทิศเหนือ  ( อาฏานาฏิยปริตร บาลีว่า  อุตฺตรสฺมึ  ทิสาภาเค  สนฺติ  ยกฺขา  มหิทฺธิกาฯ )  ส่วนตนที่ยืนทางด้านทิศใต้ มีรูปร่างเล็ก กว่า ผมหยิก  นุ่งโจงกระเบน  ไม่สวมเสื้อ  แต่ประดับสร้อยสังวาลย์  สันนิฐานว่าน่าจะเป็นยักษ์ษินี  ( เพศหญิง )  ยักษ์    ตนนี้  สร้างขึ้นภายหลังจากสร้างอุโบสถเสร็จสิ้นแล้วโดยอาจารย์บุญช่วย  ทองแสง  อาจารย์ลิเกชื่อดังเป็นนายช่างใหญ่และเป็นผู้มีจิตศรัทธาสร้าง  ชาวบ้านเชื่อกันว่ายักษ์    ตน  มีความศักดิ์สิทธิ์บนบานสิ่งใดสมปรารถนาทุกประการ   โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บ  หรือการสอบไล่ - สอบเข้าทำงาน  สามีภรรยาทะเลาะกันกลับคืนดีได้  แม้กระทั่งคริสต์ชนบางครอบครัวของบ้านท่าแร่ก็ยังเคยมาบนบาน  บูชายักษ์    ตน  ปัจจุบันโดยเฉพาะในวันพระจะมีชาวบ้านและคริสต์ชนบางครอบครัวของบ้านท่าแร่  ที่ศรัทธามากราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก  เครื่องสังเวยที่ชาวบ้านนำมาและเชื่อว่ายักษ์ทั้ง    ตนโปรดคงมีเพียงผลไม้    ชนิด  ดอกไม้แดง    ดอก  เทียนขาว    เล่ม  นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความเชื่ออีกว่ายักษ์ทั้ง    ตน  เป็นยักษ์ใจดี  เป็นเทพแห่งยักษ์  ซึ่งแต่ละปีเทพแห่งยักษ์จากสรวงสวรรค์จะผลัดเปลี่ยนกันลงมาประทับที่รูปปั้นยักษ์ทั้ง   ตนนี้  เพื่อดูแลรักษาพระศาสนาให้รุ่งเรืองสถาพรสืบไป

ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา  หลวงพ่อพา  พุทธสโรจะขอแผ่บุญเสื่อหรือสาดจากชาวบ้านเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาปิดอุโบสถทั้งหลังเพื่อมิให้สีขาวของอุโบสถเป็นจุดเด่น  เมื่อเครื่องบินข้าศึก  ( ฝรั่งเศส)  ผ่านมาจะมองเห็นได้ง่ายและอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ของทหารและตกเป็นเป้าหมายโจมตีได้  ปัจจุบันเป็นสิมโบราณขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสกลนคร  มีความสวยงาม – ประทับใจมาก.

ผู้ให้สัมภาษณ์ 

1. พระครูอัครธรรมสาร  ( อวยชัย  ธัมมวโร )  อายุ  45  ปี พรรษา 21 วัดยอดลำธาร  
        บ้านนาแก้ว  ตำบลนาแก้ว  อำเภอโพนนาแก้ว  จังหวัดสกลนคร

2. นางทองพูล  บุระเนตร  อายุ  80  ปี บ้านเลขที่ 162 หมู่ 1 บ้านนาแก้ว ตำบลนาแก้ว  
        อำเภอโพนนาแก้ว  จังหวัดสกลนคร

3. นางเครื่อง  พาระหัส  อายุ  78  ปี บ้านเลขที่ 177 หมู่ 13 บ้านนาแก้ว ตำบลนาแก้ว 
           อำเภอโพนนาแก้ว  จังหวัดสกลนคร

4. นางแถม  ศรีพลพา  อายุ  78  ปี บ้านเลขที่ 20 หมู่ 14 บ้านนาแก้ว  ตำบลนาแก้ว 
           อำเภอโพนนาแก้ว  จังหวัดสกลนคร

ที่ตั้งของวัด
            ไปเส้นทางถนนสกลนคร – นครพนม  เลยบ้านท่าแร่ไปประมาณ 4 ก.ม. เลี้ยวขวาไปตาม
       เส้นทางอำเภอโพนนาแก้วอีก 2 ก.ม. จะถึงวัดยอดลำธาร รวมระยะทางจากตัวเมือง
       ถึงวัดประมาณ  26  ก.ม. 

 

____________________________________

( ขอได้รับความขอบคุณและปรารถนาดีจาก www.kkppn.com )



Online: 1 Visits: 260,213 Today: 34 PageView/Month: 2,189