เกรียงไกร ปริญญาพล http://www.kkppn.com

ประวัติ 

รองอำมาตย์โท  พระบริบาลศุภกิจ 

( คำสาย  ศิริขันธ์ ) 

 

 

 

                                                                                         โดย 

                                                                          ดร. เกรียงไกร  ปริญญาพล 

                                                                        ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ 

                                                                       สภาวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร 

 

 

            รองอำมาตย์โท  พระบริบาลศุภกิจ  ( คำสาย  ศิริขันธ์ )  เป็นบุตรของพระเสนาภักดี  ( ขันธ์ )  กับ  นางพรหมมา  เป็นหลานปู่ของพระศรีวรราชหรือเพียสีสุวงษ์  ( รี ) กับนางที  และเป็นเหลนของเพียสีหาเทพ  ( ศรี )  อดีตข้าราชการเมืองสกลนครสมัยเริ่มแรกเกิดเมื่อปีจอ  จัตวาศก  จุลศักราช  ๑๒๒๔  รัตนโกสินทร์ศก   ๘๑   ตรงกับวันที่  ๒๘  เมษายน  พุทธศักราช  ๒๔๐๕    คุ้มวัดศรีสระเกษ  ตำบลธาตุเชิงชุม  ( เดิมชื่อตำบลสะพานหิน )  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  มีพี่น้อง  ร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม    คน คือ 

                        (๑)  รองอำมาตย์โท  พระบริบาลศุภกิจ  ( คำสาย   ศิริขันธ์ )

                        (๒)  เมืองขวา ( คำสอน  ศิริขันธ์ ) 

                        (๓)  ขุนอภิบาลวรเดช ( ขาน  ศิริขันธ์ ) 

                        (๔)  ขุนนิเทศพานิช  ( บุดดี  ศิริขันธ์ ) 

                        (๕)  นางคาย  พงษ์สิทธิศักดิ์ 

                        (๖)  นางมั่น  พรหมดิเรก 

                        (๗)  นางนาง  ราชกรม 

            ท่านเริ่มเรียนหนังสือไทยที่สำนักพระครูศรี  และโรงเรียนปกครองที่มณฑลอุดรธานี  ได้ประกาศนียบัตรการปกครอง โดยเรียนพร้อมกับรองอำมาตย์ตรี  หลวงพิจารณ์อักษร ( เส  พรหมสาขา ณ สกลนคร )

 

เริ่มรับราชการตามลำดับดังนี้ 

            รัตนโกสินทร์ศก  ๙๖  ( พุทธศักราช  ๒๔๒๐ )  เสมียนเมืองสกลนคร 

            ท้าวคำสาย  ศิริขันธ์  ร่วมกับราชวงศ์ฟอง  คุมกำลังไพร่พลเมืองสกลนครจำนวน  ๒๐๐  คน  ไปตั้งกองรักษาด่านที่บ้านนากระแด้งเชิงเขาอาดแขวงเมืองภูวดลสอางหรือสว่างต่อเขตเมืองคำเกิด – คำม่วน  (ปัจจุบันอยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)  ด้วยเหตุเจ้าฟ้าหงี่เวียนเนียนเจ้าเมืองพูชุนแข็งข้อต่อฝรั่งเศสจะกู้อิสรภาพคืน  แต่ถูกฝรั่งเศสปราบปรามจึงพาครอบครัวและไพร่พลหลบหนีจะเข้ามาอาศัยในเขตบ้านบ่อคำแฮ  แขวงเมืองภูวดลสอางหรือสว่างซึ่งเป็นเขตราชอาณาจักรไทยเพื่อป้องกันมิให้เจ้าฟ้าหงี่เวียนเนียนและไพร่พลล่วงล้ำเข้ามาอาศัยในพระราชอาณาเขต  ได้ตั้งกองกำลังรักษาอยู่    เดือน  เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์สงบจึงยกกำลังกลับเมืองสกลนคร

           

              รัตนโกสินทร์ศก  ๑๑๐  (พุทธศักราช  ๒๔๓๔ )  เพี้ยเมืองขวา , อักษรเลข

              รัตนโกสินทร์ศก  ๑๑๘  (พุทธศักราช  ๒๔๔๒)  เป็นพระบริบาลศุภกิจ  สัสดีเมืองสกลนคร

              รัตนโกสินทร์ศก  ๑๒๑  (พุทธศักราช  ๒๔๔๕)  ผู้พิพากษาศาลเมืองสกลนคร  
( ปัจจุบันคือ
ตำแหน่งหัวหน้าศาลจังหวัด )

     รัตนโกสินทร์ศก  ๑๒๗  (พุทธศักราช  ๒๔๕๑)  นายอำเภอวาริชภูมิ
     พุทธศักราช  ๒๔๕๖
๒๔๕๙  นายอำเภอเมืองไชยบุรี  (ปัจจุบันเมืองไชยบุรีถูกยุบเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม
     เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๔๖๐  ได้ลาออกจากราชการด้วยเหตุรับราชการนานทางเมืองสกลนครได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองสกลนคร

 


 

ชีวิตครอบครัว

            ท่านได้สมรสกับนางบัว  บุตรของพระโคษาราช  (นามเดิมไม่ปรากฎแต่สกุลนาถโคษา)  กำนันตำบลสะพานหิน  (บริเวณคุ้มวัดสะพานคำ  เดิมเรียกว่าตำบลสะพานหิน)  เมืองสกลนคร  กับนางจัน  นาถโคษา  มีบุตรด้วยกันรวม    คน  คือ 

                        (๑)  นายค่าย  ศิริขันธ์

                        (๒)  นางมุลซา  วชิรภักดิ์ 

                        (๓)  นางสาวรสสา  ศิริขันธ์ 

                        (๔)  นางสาววารี  ศิริขันธ์

            รองอำมาตย์โท  พระบริบาลศุภกิจ  (คำสาย  ศิริขันธ์)  เป็นผู้ที่สนใจและค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างยิ่ง  ดังจะเห็นได้จากคราวเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองไชยบุรี  ท่านได้สืบค้นประวัติความเป็นมาของชาวเมืองท่าอุเทนจนสามารถตรวจพบ  “ ศิลาจารึก ”  เรื่องราวความเป็นมาของต้นตระกูลชาวเมืองท่าอุเทนที่เป็นผู้สร้างวัดไตรภูมิ  เมืองไชยบุรี  และท่านได้ตรวจพบศิลาจารึกซึ่งเป็นอักษรธรรม  อันเป็นภาษาคธถอดเป็นภาษาไทยไว้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  ๑๖  สิงหาคม  ๒๔๕๗  นับเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่จะอ้างอิงได้ทางประวัติศาสตร์  (ขณะนี้เก็บรักษาไว้ในโบสถ์วัดไตรภูมิ)

                        เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๖๐  พระสุนทรธนศักดิ์  ปลัดมณฑลอุดรซึ่งทำหน้าที่ข้าหลวงเมืองสกลนครในสมัยนั้น  ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รอบรู้เรื่องราวเมืองสกลนครขึ้นคณะหนึ่งจำนวน    ท่าน  เพื่อสอบค้นเรื่องราวประวัติเมืองสกลนคร  แล้วทำการเขียนส่งไปยังกระทรวงมหาดไทย  กรุงเทพ ฯ  กรรมการ    ใน    ท่านนี้  มีรองอำมาตย์โท  พระบริบาลศุภกิจ  (คำสาย  ศิริขันธ์)  ร่วมอยู่ด้วย  ท่านมีบทบาทในการเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของเมืองสกลนครในอดีตนี้มากเพราะมีความรอบรู้ทั้งภาษาไทย  และภาษาลาวเป็นอย่างดี  ต่อมาหนังสือที่เขียนฉบับนี้ นายเตียง  ศิริขันธ์  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีหลายกระทรวง  ซึ่งเป็นหลานชายของท่านได้นำมาพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสงานนมัสการพระธาตุเชิงชุม  วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  (เดิมเรียกวัดธาตุศาสดาราม)  จังหวัดสกลนคร เป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช  ๒๔๙๓  ซึ่งเรียกว่า  “ พงศาวดารเมืองสกลนครฉบับพระบริบาลศุภกิจ  (คำสาย  ศิริขันธ์) ”  พงศาวดารฉบับนี้ได้รับการยกย่องและเชื่อถือจากนักวิชาการประวัติศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ  เป็นอย่างมาก  แม้มีการเขียนวิทยานิพนธ์หรือค้นคว้ารายงานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสานเกี่ยวกับจังหวัดสกลนคร  เหล่านักวิชาการมักจะอ้างอิงพงศาวดารฉบับนี้อยู่เสมอ

 

ด้านศาสนา 

                        นอกจากท่านจะเป็นผู้ใจบุญอุปถัมภ์ค้ำชูบำรุงรักษาวัดศรีสะเกษ  (วัดนี้พระศรีวรราช  (รี)  ปู่ของท่านเป็นผู้สร้าง) แล้ว  ท่านยังมีผลงานการทะนุบำรุงศาสนาโดยตลอด โดยเมื่อพุทธศักราช  ๒๔๖๑  พระเจดีย์วัดพระธาตุเชิงชุมและหลวงพ่อพระองค์แสนชำรุด  ท่านได้เป็นนายงานนำลูกจ้างและชาวบ้านทำการซ่อมเสร็จแล้วได้บอกบุญปิดทองพระเจดีย์และพระพุทธรูปสิ้นเงิน  ๙๔๒  บาท  ๔๖  สตางค์ 

                        เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๖๘  ท่านได้เป็นนายงานนำชาวบ้านทำการขยายรั้ววัดพระธาตุเชิงชุมด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก ให้เป็นเขตวัดพระธาตุเชิงชุมตามคำสั่งนายอำเภอธาตุเชิงชุมฉบับที่  ๒ / ๒๔๖๘  ลงวันที่  ๑๖  กรกฎาคม  ๒๔๖๘  

                        ท่านเป็นคนที่มีความคิดทันสมัยอยู่เสมอ  โอบอ้อมอารีแก่ชนทุกชั้น  บุตร - หลาน – เหลน  และญาติพี่น้องต่างให้ความเคารพและยกย่องให้ท่านเป็นต้นตระกูล “ ศิริขันธ์ ”  ทั้งเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕  ท่านได้ทำบุญเนื่องในโอกาสอายุครบ  ๗๐  ปี  มีบุตร – หลาน – เหลน  ญาติพี่น้องตลอดบุคคลที่เคารพนับถือต่างมาร่วมอวยพรอย่างคับคั่ง  ท่านได้แจกหนังสือเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มาร่วมในงานเนื่องในวันดังกล่าวนี้ด้วย

 

                                             บั้นปลายชีวิต 

            รองอำมาตย์โท  พระบริบาลศุภกิจ  (คำสาย  ศิริขันธ์) ถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๐ สิริอายุรวมได้  ๗๖ ปี  ณ บ้านตรงข้ามวัดศรีสระเกษ  ถนนสุขเกษม  ตำบลธาตุเชิงชุม  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร และได้ทำการฌาปนกิจศพตามประเพณีนิยมที่บริเวณหนองสองห้อง  (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนคร)  เมรุและหีบศพของท่านได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามจากช่างฝีมือดีพื้นเพชาวนครหลวงพระบางราชอาณาจักรลาวจำนวน  ๕ คน  คือ  นายสี  พูมมา , นายแก่น  เมืองหลวง , นายคำตัน , นายเพ็ง , นายพงษ์ 

            ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖  ทายาทชั้นเหลน ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ 

ของท่านขึ้น ณ วัดศรีสระเกษ ถนนสุขเกษม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง

จังหวัดสกลนคร และมีการทำบุญรำลึกถึงท่านทุกปี

           

            สิ้นประวัติโดยย่อของรองอำมาตย์โท พระบริบาลศุภกิจ( คำสาย  ศิริขันธ์ )เพียงนี้

   

 

นางบริบาลศุภกิจ (บัว  ศิริขันธ์)

 

 

 

 

 

 

หนังสือแจกในงานคล้ายวันเกิดและอายุครบ ๗๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ 

 

 

 ตั้งขบวนศพบริเวณหน้าบ้านพัก

 

 

 

บุตร - หลาน บวชเณรหน้าไฟในงานศพ

 

 

หามพระเถระชั้นผู้ใหญ่นำหน้าขบวนศพ ( ถนนสุขเกษมหน้าวัดศรีสะเกษ )

 

คณะญาติและผู้มีเกียรติตามขบวนแห่ศพ ( ถนนสุขเกษมหน้าวัดศรีสระเกษ )

 

 

คณะญาติบวชชีตามขบวนศพ ( ถนนสุขเกษมโค้งไปทางโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล )

 

 

 

เคลื่อนศพไปฌาปนสถาน ( ในภาพเคลื่อนตามถนนใสสว่างบริเวณหน้าโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล )

 

ขบวนศพ

 

 

ณ เมรุ ชั่วคราว บริเวณหนองสอง ( ปัจจุบันคือศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนคร ด้านหลังคือหนองหารสกลนคร )

 

 

เมรุ ชั่วคราว ( ด้านหลังทิวทัศน์หนองหารสกลนคร )

  

 ________________________________________



Online: 1 Visits: 261,332 Today: 70 PageView/Month: 1,035